เมนู

ในข้อว่า ตํ ตํ วา ปน นี้ไม่พึงแลดูนัยที่กล่าวในหนหลัง พึง
กล่าวด้วยอำนาจ ตังตังวาปนกนัย นั่นแหละ แต่เมื่อจะกล่าวไม่ควรยก
เวทนาใกล้จากเวทนาไกล แต่พึงยกเวทนาไกลจากเวทนาใกล้ เพราะเวทนาที่
เป็นอกุศล มี 2 อย่าง คือ เวทนาที่สหรคตด้วยโลภะ และสหรคตด้วยโทสะ.
ในเวทนา 2 เหล่านั้น เวทนาที่สหรคตด้วยโลภะ ชื่อว่า เวทนาใกล้
เพราะเกิดพร้อมกับโลภะ ชื่อว่า เวทนาไกล เพราะเกิดพร้อมกับโทสะ,
แม้เวทนาที่สหรคตด้วยโทสะ ชื่อว่า เวทนาใกล้ เพราะเกิดพร้อมกับโทสะ
ชื่อว่า เวทนาไกล เพราะเกิดพร้อมกับโลภะ แม้เวทนาที่สหรคตด้วยโทสะ
ที่เป็นนิยตะ* ชื่อว่า เวทนาใกล้ เพราะความเป็นสภาพยั่งยืน ชื่อว่า อนิยตะ
เพราะความเป็นสภาพไม่ยั่งยืนอย่างนั้น. พึงทราบเวทนาแต่ละส่วนว่าเป็น
เวทนาใกล้โดยเวทนาที่เป็นส่วนนั้น ๆ นั่นแหละ และเวทนานอกนี้พึงทราบว่า
เป็นเวทนาไกลจากส่วนนอกนี้ คล้อยตามเวทนาทั้งปวงอันต่างด้วยเวทนาที่ตั้ง
อยู่ตลอดกัป เวทนาที่เป็นอสังขาริก สสังขาริก และเวทนาอันต่างด้วยธรรมมี
ทิฏฐิคตสัมปยุตเป็นต้นในบรรดาจิตที่เกิดพร้อมกับโลภะเป็นต้น ด้วยอำนาจ
แห่งถ้อยคำอันข้าพเจ้าให้พิสดารในนิเทศโอฬาริกทุกะนั่นแล.
เวทนาขันธนิเทศ จบ

3. สัญญาขันธนิเทศ

(บาลีข้อ 14)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งสัญญาขันธ์ ต่อไป.
บทว่า ยา กาจิ สญฺญา (สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง) นี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงถือเอาสัญญาที่เป็นไปในภูมิ 4. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา
* คำว่า นิยตะ หมายถึงยั่งยืน คือ เกิดติดต่อกันเป็นเวลานานเช่นในนรก.